ข้อสอบ ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ (ส่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมคิด ดวงจักร์)

07:10 / เขียนโดย วิริยะ พัฒนาวิศิษฏ์ / ความคิดเห็น (0)

1.ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอนผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

เห็นด้วยเนื่องจาก การบริหารงานใดๆ ในยุคนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม เครื่องมือที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีเครื่องมือที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการระบบฐานข้อมูล ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือทางปัญญาอีกหลายอย่าง เช่น Balanced Score Card, เครื่องมือการวางแผน, เครื่องมือการติดตามงาน ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้ขอรวมเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษา ซึ่งการจัดการระบบสารสนเทศในวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามนั้นได้มีการประยุกต์การใช้งานโดยพิจารณาออกเป็น 2 ลักษณะงานคือ

1. ลักษณะงานของผู้บริหารองค์กรได้มีประยุกต์การใช้งานในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.1. ด้านการวางแผนการศึกษา ได้แก่การวางแผนงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น อาทิ การวางแผนด้านหลักสูตร การวางแผนการสร้างอาคาร การวางแผนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ฯลฯ

1.2 ด้านการจัดองค์กร ได้แก่การจัดรูปแบบการดำเนินงานภายในวิทยาลัย การศึกษา รวมทั้งการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้มารับตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ งานนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาและประเมินการทำงานของบุคลากรด้วย

1.3 ด้านการจัดงานและควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามที่กำหนด ได้แก่การกำหนดเนื้องาน การมอบหมายงานให้บุคลากรรับไปดำเนินงาน การประสานงานบุคลากร และ การควบคุมให้บุคลากรเหล่านั้นดำเนินงานตามที่กำหนดอย่างครบถ้วนและได้ผลดี

1.4 ด้านการสั่งการและการแก้ไขปรับปรุงงาน ได้แก่การออกคำสั่ง การออกระเบียบวิธีปฏิบัติ การกำหนดนโยบาย เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ของวิทยาลัยเป็นไปอย่างราบรื่น และหากการดำเนินงานมีปัญหา ก็แก้ไขปรับปรุงระเบียบและวิธีการต่าง ๆ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

1.5 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารจำเป็นจะต้องทราบตลอดเวลาว่า งานบริหารการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ และสามารถให้ผลงานที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพของการปฏิบัติงานและของ ผลงานด้วย

1.6 ด้านการจัดทำรายงาน ได้แก่ การจัดทำรายงานต่างๆ ตามระดับที่จำเป็นเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารที่อยู่สูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะก็คือรายงานที่แสดงผลการประเมินการปฏิบัติงานที่กล่าวถึงไปแล้ว

1.7 ด้านการจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การพิจารณาวางแผนด้านการใช้จ่ายของสถาบันล่วงหน้า นำเสนอแผนงบประมาณต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารเพื่อให้อนุมัติ จากนั้นก็ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนงบประมาณนั้น

2. ลักษณะงานด้านการศึกษาโดยพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาจจะแบ่งเป็นงานต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

2.1 งานด้านจัดการหลักสูตร ได้แก่การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการร่างหลักสูตรที่คาดว่าน่าจะเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ การพิจารณาอนุมัติหลักสูตร การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการตามหลักสูตร

2.2 งานด้านจัดการนักศึกษา ได้แก่การประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาสมัครเข้ามาศึกษาในวิทยาลัย การลงทะเบียนนักศึกษา การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา

2.3 งานด้านจัดการเรียนการสอน ได้แก่การกำหนดตารางการเรียนการสอน การจัดอาจารย์และวิทยากรมาสอน การจัดทำสื่อการสอน การสอบ การให้คะแนน

2.4 งานด้านบริหารบุคลากร ได้แก่ การจัดหาบุคลากรระดับต่างๆ มาปฏิบัติงานในวิทยาลัย การพัฒนาบุคลากร การประเมินผล

2.5 งานด้านจัดการงบประมาณ ได้แก่การพิจารณากำหนดงานที่จะต้องดำเนินการ การทำคำของบประมาณ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณ

2.6 งานด้านจัดการทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษา ได้แก่การจัดหา ควบคุม และ การดูแลรักษาทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี

2.7 งานด้านการจัดการห้องสมุด ได้แก่การจัดหาหนังสือและวารสาร การจัดสถานที่อ่าน การให้บริการยืมคืน การให้บริการค้นคืนข้อมูลและเอกสาร

2.8 งานด้านจัดการศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ได้แก่การจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การให้บริการอาจารย์และนักศึกษาเพื่อให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ การให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต

2.9 งานด้านการจัดการเอกสาร ได้แก่การจัดระบบเอกสาร และ ระบบสารบรรณ

2.10 งานด้านจัดการการสื่อสาร ได้แก่การจัดหาระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้บริการการสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์ โทรสาร การประชุมทางไกล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.11 งานด้านการให้บริการชุมชน ได้แก่การจัดการงานบริการต่างๆ ให้แก่ชุมชน เช่น บริการการศึกษาต่อเนื่อง การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดแผนแม่บทด้าน ไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถธิบายให้แจ้งชัด

เห็นด้วยเนื่องจาก

แผนแม่บทคืออะไร

แผนแม่บท คือแผนที่ใช้เป็นต้นแบบหลักในการวางแผนปฏิบัติ (ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าแผนแม่บทย่อย) โดยแผนปฏิบัติย่อยที่แตกหน่อต่อยอดจากแผนแม่บทดังกล่าวนั้น จะต้อง สอดคล้องต้องกัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนแม่บทหลักเสมอ...โดยทั่วไปจะมีการจัดแบ่งชนิดของแผนออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การแบ่งแผนออกตามระยะเวลา โดย ปกติแล้ว การแบ่งแผนออกตามระยะเวลา

กับการแบ่งแผนออกตามระดับความสำคัญนั้น มักจะมีการเขียนแผนที่คำนึงถึงความสอดคล้องควรคู่กันไปเสมอ

1.1 แผนระยะยาว (เกิน 5 ปี)
1.2 แผนระยะกลาง (1 ถึง 5 ปี) และ
1.3 แผนระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)

2. แบ่งตามระดับความสำคัญ

2.1 แผนกลยุทธ์ (เชิงวิสัยทัศน์) หรือ Strategy Plan
2.2 แผนแม่บท (เชิงนโยบาย) หรือ Master Plan และ
2.3 แผนปฏิบัติ (เชิงวัตถุประสงค์) หรือ Action Plan

3. การแบ่งแผนออกตามความถี่ของการใช้

3.1 แผนใช้ครั้งเดียว (แผนงบประมาณ, โครงการ)
3.2 แผนต่อเนื่องและ
3.3 แผนฉุกเฉิน

สรุปแนวทางในการจัดทำแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 ความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

1. เน้นการใช้ ICT ในการสร้างเครือข่ายและการเรียนรู้ รวมถึงการสร้างนวัตกรรม

ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10

2. เน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การพัฒนาฐานข้อมูล

3. เน้นการให้ความสำคัญกับ ICT เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง และพัฒนาบริการภาครัฐ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพ/ลดต้นทุนภาคเอกชน ให้ความสำคัญกับประเด็นเชิงนโยบายที่สมาคม/ผู้ที่เกี่ยวข้องนำเสนอ

จะเห็นได้ว่าการจัดทำแผนแม่บท ICT จะ ช่วยให้ภาพรวมของนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและกาสื่อสาร สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของประเทศ ทั้งยังเป็นกรอบหรือแนวทางดำเนินงานให้หน่วยงานรับผิดชอบได้ยึดถืออีกด้วย

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม

เห็นด้วยเนื่องจาก พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คงเป็นที่ยอมรับกันว่า ปัจจุบันชีวิตของเรามีส่วนเกี่ยวข้องและต้องใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์นี้ในการติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าข้อมูลโดยผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งทำให้โลกใบใหญ่ในเมื่อ ห้า หรือ สิบปีที่แล้ว เล็กลงไปในปีนี้ และจะเล็กลงกว่าเดิมในปีถัดไป ความหลากหลายของข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมาย หากไร้ซึ่งกติกาในการควบคุมดูแล คงจะวุ่นวายมากทีเดียว ซึ่งการคุ้มครองสาธารณชนผู้ใช้คอมพิวเตอร์และในขณะเดียวกันก็คุ้มครองระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ในฐานะระบบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความสำคัญไม่น้อยกว่า ไฟฟ้า ประปา เพราะฉะนั้นถ้าใครล่วงล้ำเข้ามาทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องต่าง ๆ หรือมาทำให้คนอื่นไม่สามารถเข้ามาใช้ระบบคอมพิวเตอร์นี้ได้เลย เท่ากับเป็นการปฏิเสธการใช้งานของบุคคลอื่นซึ่งเราเปรียบคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน เท่ากับการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งไม่เป็นอันสมควร ยกตัวอย่างเช่นในมหาวิทยาลัย นักศึกษาทุกคนมี ยูสเซอร์ แลพาสเวิร์ดของตนเอง เพื่อเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ทำให้นักศึกษาเข้าใช้ทั้งในเรื่องส่วนตัว เพื่อการศึกษาต่าง ๆ ได้เป็นต้น

ในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้น ย่อมมีมากมาย ขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันออกไป ผลกระทบคงจะเกิดจากการที่ผู้ใช้ใช้งานไม่ถูกต้องและส่งผลกระทบ ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น

- การเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ เช่น ข้อมูลต่าง ๆ ของส่วนราชการ หรือข้อมูลที่เปิดเผยทั่วไป ซึ่งปัจจุบันนี้ราชการต่าง ๆ ได้มีนโยบายในการให้ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งการเข้าถึงประชาชนทั่วไปก็ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัวกว่าและจะมีข้อมูลบางอย่างของทางราชการที่เป็นความลับที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ที่มีไว้ให้สำหรับผู้มีอำนาจในการเข้าถึงได้ใช้ได้เท่านั้น

- ข้อมูลส่วนบุคคล นับได้ว่ามีส่วนสำคัญ เช่น ข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลทางการศึกษา ซึ่งปัจจุบันนี้ข้อมูลของนิสิต นักศึกษา การลงทะเบียน การแจ้งเกรด รวมถึงการเรียนทางไกลผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น นักศึกษาบางคนไม่ได้ลงทะเบียนเอง โดยฝาก username และ password ให้เพื่อนไปลง และมีเรื่องทะเลาะกัน โดยนำ username ไปแก้ไขข้อมูลของเพื่อนโดยที่เจ้าของไม่รู้เห็นด้วย ก็ทำให้เกิดปัญหาได้ นี่คือความร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลประเภทที่ ต้องมีการ รีจีสชื่อ และมีพาสเวิร์ด ลักษณะนี้เรียกว่าข้อมูลส่วนบุคคล

- ข้อมูลที่มากับ อีเมล์ พวกสปายแวร์ มีประเภทที่สามารถควบคุมการเปิดปิด เว็บแคม ได้ตามต้องการซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับบุคคลที่เปิดรับอีเมล์นั้น ๆ นี่คือความเสียหายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในเรื่องของเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ลำบากเพราะอะไรก็สามารถเกิด ขึ้นได้ ส่วนมากปัญหาที่เกิดขึ้น มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว จึงจะแก้ปัญหานั้นได้ เราควรตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเมื่อก่อนเราไม่ให้ความสำคัญกันสักเท่าไหร่ เช่นเวลาเราไปเปิดบัญชีที่ธนาคาร และสมัครบัตรเอทีเอ็ม ธนาคารก็จะมีคำแนะนำให้เก็บรหัสไว้ก่อน คนส่วนมากก็ไม่ค่อยเก็บไว้ ซึ่งการตั้งพาสเวิร์ดส่วนมากก็จะตั้งไม่ยาก บางคนใช้พาสเวิร์ดเดียวกันกับพาสเวิร์ดในเว็บไซต์ ที่เราเข้าไปเป็นประจำ ๆ ซึ่งยกตัวอย่าง Google เวลาเซ็ตพาสเวิร์ดจะมี คำอธิบายว่าเราควรจะเซ็ตพาสเวิร์ดแบบใด พาสเวิร์ดของท่าน มีความยากในการคาดเดา ยาก ง่ายเพียงใด ซึ่งเดี๋ยวนี้มีโปรแกรมคาดเดาพาสเวิร์ดซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เราจะเห็นในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ นั่นก็มีจริง ๆ แล้วในปัจจุบันนี้ ซึ่งพรบ.จะเข้ามาคุมครอง เมื่อมีการกระทำผิดที่เกิดขึ้นกับเราแล้ว

เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นกับเรา เช่นมีคนนำ ยูสเซอร์ และพาสเวิร์ดเราไปใช้ และมีความเสียหายเกิดขึ้นย่อมมีความผิดตาม พรบ. ฉบับนี้อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่ากว่าจะถูกลงโทษ เราจะเสียหายไปเพียงใดแล้ว การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ไม่ใช่จับกันง่าย ๆ และการกระทำความผิดคอมพิวเตอร์ มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ การป้องกันยาก จะรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไปตามจับกัน เมื่อก่อนนี้จับกันไม่ได้เลย เพราะมีข้อจำกัดในเรื่อง ที่ให้ ISP นั้นเก็บข้อมูล IP ของเครื่องลูกข่ายตัวเอง ไว้ เวลาตำรวจตรวจหา จาก IP ก็ทำได้ยาก แต่ปัจจุบันได้กำหนดให้เก็บเรียบร้อยแล้วซึ่งตรวจได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการติดตามมาลงโทษ โดยมี พรบ. เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผู้บริโภคข่าวสารข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตนั่นเอง.

อินเตอร์เน็ตกับวงการศึกษา

07:07 / เขียนโดย วิริยะ พัฒนาวิศิษฏ์ / ความคิดเห็น (0)



สำหรับในวงการศึกษาแล้วอินเตอร์เน็ตถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุดและสมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากในอินเตอร์เน็ตมีแหล่งความรู้เป็นจำนวนมากที่ท่านสามารถค้นหาและศึกษาได้อย่างเต็มที่ นอกจากจะศึกษาเองแล้วท่านยังสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นทั้งหลายที่สนใจในเรื่องเดียวกับท่าน โดยที่ผู้นั้นจะอยู่ใก้ลหรือไกลก็ไม่เป็นปัญหา ครู นักเรียน นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดได้อย่างทันทีทันใด โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาพบกัน มีมหาวิทยาลัยบางแห่งได้เปิดสอนวิชาบางวิชาผ่านทางอินเตอร์เน็ต

เรียนหนังสือ

23:09 / เขียนโดย วิริยะ พัฒนาวิศิษฏ์ / ความคิดเห็น (0)

การศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิต